ท่ารำตบมะผาบ
กระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลักในการนำมิติทางวัฒนธรรมมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ๒ ยุทธศาสตร์ คือยุทธศาสตร์ที่ ๑ รักษาสืบทอดวัฒนธรรมและความหลากหลายของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ ๓ นำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศมาเพิ่มพูนมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างคุณค่าทางสังคม ระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการภูมิบ้านภูมิเมือง ซึ่งประกอบด้วยภูมิหลัง ภูมิปัญญา คือการสืบค้น รวบรวม บันทึกและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชน ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม คือการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ การนำเสนอผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ผสมผสานกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศด้านวัฒนธรรมดังกล่าว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปางร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง จึงเห็นสมควรให้ดำเนินงานบริหารจัดการข้อมูลวัฒนธรรมจังหวัดลำปางอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมวิถีชีวิต (Intangible Cultural heritage ) โดยกำหนดการจัดเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของจังหวัดลำปาง รวม ๓ เรื่องดังนี้
๓.๑ การตบมะผาบ – ฟ้อนเจิง
๓.๒ วงป้าด (วงปี่พาทย์)
๓.๓ ก๋องปู่จา
ซึ่งในเอกสารฉบับนี้จะกล่าวถึงสืบค้นศิลปะการแสดงด้านตบมะผาบ – ฟ้อนเจิง นายน้อย ชัยทะนุ แสดงท่าตบมะผาบ ณ วัดวังหม้อ ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองจังหวัดลำปาง
กระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลักในการนำมิติทางวัฒนธรรมมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ๒ ยุทธศาสตร์ คือยุทธศาสตร์ที่ ๑ รักษาสืบทอดวัฒนธรรมและความหลากหลายของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ ๓ นำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศมาเพิ่มพูนมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างคุณค่าทางสังคม ระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการภูมิบ้านภูมิเมือง ซึ่งประกอบด้วยภูมิหลัง ภูมิปัญญา คือการสืบค้น รวบรวม บันทึกและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชน ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม คือการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ การนำเสนอผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ผสมผสานกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศด้านวัฒนธรรมดังกล่าว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปางร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง จึงเห็นสมควรให้ดำเนินงานบริหารจัดการข้อมูลวัฒนธรรมจังหวัดลำปางอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมวิถีชีวิต (Intangible Cultural heritage ) โดยกำหนดการจัดเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของจังหวัดลำปาง รวม ๓ เรื่องดังนี้
๓.๑ การตบมะผาบ – ฟ้อนเจิง
๓.๒ วงป้าด (วงปี่พาทย์)
๓.๓ ก๋องปู่จา
ซึ่งในเอกสารฉบับนี้จะกล่าวถึงสืบค้นศิลปะการแสดงด้านตบมะผาบ – ฟ้อนเจิง
นายน้อย ชัยทะนุ
แสดงท่าตบมะผาบ ณ วัดวังหม้อ ตำบล
ต้นธงชัย อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง
คำนิยาม
ศิลปะการแสดง (Performing art ) หมายถึง การแสดงออกซึ่งอารมณ์
ความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ ประกอบด้วยดุริยางค์ศิลป์หรือดนตรี (Music ) นาฏศิลป์ (Dance )
“ตบมะผาบ”เป็นศิลปะการแสดงประเภทประกอบระบำ รำ ฟ้อน ของบ้านวังหม้อ ตำบลต้นธงชัย
อ.เมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ถือเป็นศิลปะการป้องกันตัวของชาวพื้นบ้านภาคเหนือ แต่โบราณ ซึ่งหมายถึง ชั้นเชิง ลีลา ของการต่อสู้นั่นเอง ซึ่งจะเป็นชั้นเชิงลีลาแบบใดก็ขึ้นอยู่กับผู้นั้นเรียนอยู่ที่ใด
ตบมะผาบ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการ ฟ้อนเจิงอาจจะตบก่อน หลัง หรือ ระหว่างที่ฟ้อนก็ได้ โดยผู้ฟ้อนจะใช้มือตบไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ไหล่ หน้าอก ขา และเท้า ให้เกิดเสียงดังต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว นายน้อย ชัยทะนุ เล่าให้ฟังว่า ศิลปะการแสดงตบมะผาบ เป็นการข่มขวัญ คู่ต่อสู้ ทำให้คู่ต่อสู้ขาดความมั่นใจและเป็นการหลอกล่อให้คู่ต่อสู้เสียสมาธิ เกิดความโมโห ซึ่งอาจทำให้คู่ต่อสู้ เพลี่ยงพล้ำได้ง่าย แต่ปัจจุบันนำมประกอบการแสดงการรื่นเริง ความสวยงามและอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้ไว้
นายน้อย ชัยทะนุ สาธิตการตีฉาบ
หยอกล้อเพื่อความสนุกสนานครื้นเครง
วันอาสาฬหบูชา วันสารทเดือนสิบ และการบวชสู่ร่มกาสาวพัตรเพื่อทดแทนคุณบิดา มารดา ส่วนประชาชนที่นับถือผีบรรพบุรุษก็จะทำพิธีที่แตกต่างกันไป โดยแต่ละศาสนาจะปฏิบัติกิจทางศาสนาของตน โดยมิได้รังเกียจหรือกีดกันการปฏิบัติกิจตามหลักธรรมทางศาสนาซึ่งกันและกัน
๒.๒พิธีกรรมและความเชื่อ ความเชื่อของมนุษย์ในเรื่องอำนาจเหนือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ
เทวารักษ์ เจ้าป่าเจ้าเขา พระภูมิเจ้าที่ หรือเชื่อในเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฯลฯล้วนเป็นจุดก่อให้เกิดพิธีกรรมบวงสรวงและการบูชา อันเป็นการแสดงความเคารพต่ออำนาจเหนือคน เป็นการเอาใจ
เทวาอารักษ์หรือสิ่งที่ตนนับถือ เพื่อช่วยปกปักษ์รักษา ดลบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลให้เกิดขึ้นแก่ตนซึ่งความเชื่อเหล่านี้มิได้เป็นเรื่องของการงมงาย หากก่อให้เกิดความงดงามในรูปแบบของประเพณีอันเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น เชื่อในเรื่องการบนบานศาลกล่าวก็จะเป็นพิธีกรรมเซ่นไหว้วิญญาณหรือการทรงเจ้าเข้าผีเกิดขึ้น เป็นต้น
นายน้อย ชัยทะนุ (ครูผู้สอน) และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชฏัฎลำปาง
ทำพิธีไหว้ครู
ศิลปะการแสดงตบมะผาบ มีเครื่องดนตรีและการประสมวงที่เป็นเอกลักษณ์คือใช้เครื่องดนตรีในการประสมวงจำนวน ๔ ชิ้นเป็นหลักได้แก่
๑.กลอง ภาษาถิ่นเรียกว่า ก๋องซิ่งม่อง
๒.ฉิ่ง ภาษาถิ่นเรียกว่า ฉิ่ง
๓.ฉาบ ภาษาถิ่นเรียกว่า สว่า
๔.ฆ้อง ภาษาถิ่นเรียกว่า ก๊อง
๑. กลอง (กลองซิ่งม่อง) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีหรือเคาะคือเป็นเครื่องสำหรับจังหวะ
คำว่ากลอง เป็นคำไทยในประเภทคำโดดซึ่งมีความยาว ๘๐ เซนติเมตร กว้าง ๒๗.๕๐ เซนติเมตร
ไม่แน่นอนความกว้าง – ยาว ไม่จำกัดขึ้นอยู่กับลักษณะและความยาวของไม้ที่จะทำเป็นกลอง
จากภาพใช้ไม้ไผ่ผ่าซี่เล็กๆ เอามาขัดดังรูปเพื่อให้หนังกลองตึงเวลาตีจะเกิดเสียงไพเราะ กังวาล
๒.ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ฉิ่งสำรับหนึ่งมี ๒ ฝา มีลักษณะเจาะรูไว้สำหรับร้อยเชือก เป็นเครื่องกำกับจังหวะเพลงไทย รวมทั้งเพลงร้องและเพลงบรรเลง เวลาตีเกิดเสียงดัง “ฉิ่ง – ฉับ”
๓.สว่า (ฉาบ) เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี มีรูปร่างคล้ายฉิ่งแต่หล่อให้บางกว่า มีขนาดกว้างใหญ่กว่า ใช้ตีกระทบกันเกิดเสียงดังเพื่อขัดจังหวะกับเสียงกลอง เสียงฉิ่งประกอบจังหวะกับเสียงกลองและฉิ่งให้คึกคักน่าฟังยิ่งขึ้น ฉาบมี ๒ ชนิด คือฉาบใหญ่และฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ใช้ในวงปี่พาทย์มอญ ส่วนฉาบเล็กนิยมเล่นในวงปี่พาทย์มโหรี วงเครื่องสายและตีประกอบการแสดงกลองยาว
จากภาพแสดงขนาดและความยาวของฉาบ
และแสดงภาพด้านใน-ด้านนอก
๔ ก๊อง (ฆ้อง )เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีมีลักษณะเป็นวงกลมแต่จะนูนตรงกลาง
จากภาพแสดงขนาดและความยาวของ ฆ้องเล็ก ฆ้องกลาง ฆ้องใหญ่
การแต่งกายในสมัยโบราณ นุ่งผ้าต้อยคล้ายโจงกระเบน แต่ในปัจจุบันได้ประยุกต์การแต่งกายเป็น
การแต่งกายพื้นเมืองโดยใช้ผู้แสดงจำนวน ๖ คน เป็นการแสดงกลางแจ้งประกอบเสียงจังหวะโดยจัดแสดงในโอกาสงานรื่นเริง
- เสื้อพื้นเมืองคอกลมแขนยาว
-ผ้าคาดเอว
-กางเกงขาก๊วย
-ลักษณะเครื่องแต่งกาย ของนักแสดง
-ลักษณะการแต่งกาย
-ภาพสาธิตการแต่งกาย
-การแสดงตบมะผาบ
นายน้อย ชัยทะนุ กำลังสาธิตแสดงตบมะผาบให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชฏัฎลำปาง
๒.นายปู ชัยทะนุ เกิดเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕
อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๗๒๔ หมู่ที่ ๒ บ้านวังหม้อ ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
เครื่องดนตรีที่เล่นคือ (สว่า ) ฉาบ
๓.นายสงวน วันแว่น เกิดเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๖๗ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๔๘๓ หมู่ที่ ๒ บ้านวังหม้อ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีความสามารถเล่นเครื่องดนตรีฆ้อง (โหม่ง ) กลาง
๔.นายวสันต์ คำตั้งวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ อยู่บ้านเลขที่ ๒๘๑ หมู่ที่ ๒ บ้านวังหม้อ ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีความสามารถเล่นเครื่องดนตรี ฆ้อง (โหม่ง ) เล็ก
เบอร์โทรศัพท์ ๐๔ – ๑๗๓๘๑๒๐
๕.นายนวล เรือนสุข เกิดเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๔๘๓ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๕๓๗ หมู่ที่ ๒ บ้านวังหม้อ
ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีความสามารถเล่นเครื่องดนตรี ฆ้อง (โหม่ง ) ใหญ่
๖.นายสมบูรณ์ สุขสมบูรณ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๘๒ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๔๕๙ หมู่ที่ ๒
บ้านวังหม้อ ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีความสามารถเล่นเครื่องดนตรีกลองยาว
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ - วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙