ตำราแมวไทย
ตำราแมวไทย เป็นตำราการดูลักษณะแมว เดิมมีปรากฏในสมุดข่อยโบราณ ต่อมามีการพิมพ์เผยแพร่โดยเพิ่มภาคผนวกเป็นคำโคลง และเขียนรูปภาพแมวประเภทต่างๆ ประกอบ ตำราดูลักษณะแมวจะกล่าวถึงความเชื่อเกี่ยวกับแมวที่มีลักษณะเป็นคุณ ๑๗ ประเภท และแมวที่มีลักษณะเป็นโทษ ๖ ประเภท
แมวที่มีลักษณะเป็นคุณ ๑๗ ประเภท ได้แก่ แมวนิลรัตน์1 แมววิลาศ แมวศุภลักษณ์ แมวเก้าแต้ม แมวมาเลศ2 แมวแซมเศวต แมวรัตนกำพล3 แมววิเชียรมาศ4 แมวนิลจักร แมวมุลิลา5 แมวกรอบแว่น แมวปัดเศวต6 แมวกระจอก แมวสิงหเสพย์ แมวการเวก แมวจตุบท7 แมวโกนจา8
![]() ๑ |
![]() ๒ |
![]() ๓ |
![]() ๔ |
![]() ๕ |
![]() ๖ |
![]() ๗ |
![]() ๘ |
ส่วนแมวที่มีลักษณะเป็นโทษมี ๖ ประเภท ได้แก่ แมวทุพพลเพศ แมวพรรณพยัคฆ์ แมวปีศาจ แมวหินโทษ แมวกอบเพลิง แมวเหน็บเสนียด
ตัวอย่างแมวที่มีลักษณะเป็นคุณ เช่น แมววิเชียรมาศ ขนสีพื้นเป็นสีขาวหม่น มีแต้มสีดำ ที่หน้า หาง เท้าทั้ง ๔ หูทั้ง ๒ และอวัยวะเพศเป็น ๙ แห่ง ดวงตาสีฟ้าใส เชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงไว้จะนำโชคมาให้ ส่วนแมวที่มีลักษณะเป็นโทษ เช่น แมวทุพพลเพศ มีขนสีขาวหม่น หางหงิกงอ ดวงตาสีแดง ชอบลักขโมยสิ่งของ เชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงไว้จะเกิดความเดือดร้อน