การแสดงนางด้ง
การแสดงนางด้ง เป็นพิธีกรรมดั้งเดิม เป็นการแสดงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การแสดงได้ย้ายตามมาจากการย้ายถิ่นฐานการทำมาหากิน ของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งถิ่นฐาน
ในจังหวัดปราจีนบุรี เป็นการแสดงที่กำลังจะสูญหายการแสดงนางด้งเป็นพิธีกรรมที่กระทำเพื่อเป็นการ
เสี่ยงทายในการทำมาหากิน เรื่องฝนจะตกเวลาไหน ชาวบ้านจะได้เตรียมไถนา เพื่อหว่านข้าว ถ้าฝนไม่ตก
จะทำให้ข้าวเสียหายได้ผลไม่เท่าที่ควร
การแสดงนางด้ง จะเล่นกันเฉพาะเดือน เมษายน ของทุกปี ในเดือนเมษายน ตั้งแต่
วันที่ ๑๓-๓๐ เมษายน ของทุกปีเท่านั้น ช่วงนี้เป็นช่วงที่ประตูสวรรค์เปิด
วิธีการ/ขั้นตอนพิธีกรรม
จะมีผู้แสดงหรือผู้ร่วมพิธีกรรม นางด้งหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่านางฟ้า ผู้ร่วมพิธีกรรม
ประกอบด้วยผู้เป็นร่างทรง จำนวน ๑ คน ผู้ถือกระด้ง จำนวน ๒ คน นั่งอยู่ตรงกลางวง ผู้ร้องเพลงเชิญนางด้ง ๑ คน ผู้ร่วมวงหรือคณะ ประมาณ ๑๐ คน ยืนล้อมวงผู้ที่ถือกระด้ง ๒ คนปิดตา ในขณะที่ผู้ร้องเพลงเชิญนางด้งร้องเพลงเชิญคนนั่งข้าง ๆ จะโปรยดอกไม้(ดอกดาวเรือง) ลงบนกระด้งไปเรื่อย ๆ จนกว่าผีนางด้งหรือนางฟ้าลงประทับร่าง พอประทับร่างแล้วก็จะสังเกตเห็นว่ากระด้งโยกไปโยกมา จะเอาผ้าที่ปิดตาออก เพื่อพูดคุยกับประชาชนในบริเวณที่อยู่รอบ ๆ นางด้งหรือนางฟ้าจะเอากระด้งไล่ฟาดผู้คนที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ และจะทักทายดวงชะตาของคนนั้น บางครั้งถ้าอารมณ์ดีนางด้งหรือนางฟ้าจะร้องรำทำเพลงร่วมกับชาวบ้านอย่างสนุกสนาน
เนื้อเพลง
นางด้งเอย นางด้งสีดา เก็บผักเก็บปลา มาลงเล่นน้ำ บุตตะเล ผัดไป เหล้า ๒ ไห ไก่เตี้ย ๒ ตัว
กระเทียม ๒ หัว อีปู่ด้งเอย อีย่าด้งเอย เข้าป่าสาระหงษ์ กระด้งไม้บาก สากน้อย ไม้แดง กระด้งแข็ง ๆ ตักแกงร่อนข้าว กระด้งฝัดข้าว อ่อนไปกระแยะ อ่อนมากระแยะ จมฟุ ๆ ฟาย ๆ ขนดินทรายมาใส่นางด้ง นางด้งให้อยากกินยากำเด็กน้อย เล่นน้ำ บุตตะเล ฟัดไป เหล้า ๒ ไห ไก่เตี้ย ๆ ตัว กระเทียม ๒ หัว ปู่ด้งเอย ย่าด้งเอย เข้าป่าสาระหงษ์ กระด้ง ไม้บาก สากน้อยไม้แดง กระด้งแข็ง ๆ ตักแกงร่อนข้าว กระด้งฝัดข้าวอ่อนไปกระแยะ อ่อนมากระแยะ อมฝุ ๆ ฟาย ๆ ขนดินทรายมาใส่นางด้ง นางด้งไฮ้อยากกินยากำ เด็กน้อย เล่นน้ำ บุตตะเล
ฝัดไป เหล้า ๒ ไห ไก่เตี้ย ๆ ๒ ตัว กระเทียม ๒ หัว อีปู่โงเอยอีย่าด้งเอ๋ย
การแต่งกาย ผู้ที่ถือกระด้ง นุ่งผ้าซิ่น เสื้อคอกลมแขนกระบอก สไบพาดบ่า ปิดตาทั้ง ๒ คน
ผู้ร่วมวงจำนวน ๑๐ คน แต่งกายสวยงาม ร้องเป็นลูกคู่ และปรบมือให้จังหวะและรำกันอย่างสนุกสนาน
การแสดงนี้ ได้กระจัดกระจายออกมาทางอื่น ตามผู้คนที่ย้ายถิ่นฐานการทำมาหากิน แต่ไม่แพร่หลายนัก
ยังคงมีเหลือบางพื้นที่ที่นับถือเท่านั้น
การแสดงนางด้ง เป็นการแสดงซึ่งกำลังจะสูญหายไปจากเมืองไทย ส่วนใหญ่จะแสดง
เพื่อจะเสี่ยงทายฟ้าทายฝนว่าปีนี้จะดีหรือฝนจะแล้ง หากทายว่าฝนดีชาวบ้านจะเตรียมพืชพันธุ์ต่าง ๆ
ไว้แต่ต้นปี พอฝนแรกเริ่มมาก็หว่านข้าวได้เลย หากทายว่าฝนแล้งก็ให้ใจเย็นไว้ก่อน ฝนห่าแรกมาอย่าพึ่ง
หว่านข้าว เดี๋ยวฝนแล้งข้าวกล้าจะตาย พอฝนมาอีกทีจะไม่มีพันธุ์ข้าวไปหว่านใหม่ แต่ผลการเสี่ยงทาย
คราวนี้จะออกมาอย่างไรลองติดตามดู
ความสนุกสนานกันภายในหมู่บ้าน หรือเป็นการทำนายทายทักเรื่องฝนในปีนั้น ว่าปีนี้ฝนจะดีไหมทำนา
จะได้ผลดีไหมเท่านั้น
จะเล่นเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้น เชื่อกันว่าเดือนเมษายน เป็นช่วงประตูสวรรค์ยังไม่เปิด เหล่านางฟ้า
ไม่สามารถออกมาได้และเป็นช่วงที่เหล่านางฟ้า หรือผีนางด้ง จำศีล
๑. จัดเตรียมอุปกรณ์
๒. จัดเตรียมสถานที่
๓. จัดเตรียมเครื่องบูชาครู
๔. การแสดงนางด้ง ผู้ร้องเพลงหรือลูกคู่ยืนล้อมวง ผู้ถือกระด้ง ๒ คน ปิดตานั่งลงตรงกลางวง กระด้ง วางบนสาก มีจานขันห้า ข้าว ตอก ดอกไม้ วางอยู่ข้างตัว แล้วก็ร้องเพลงเชิญนางด้ง หรือนางฟ้าลงมาประทับร่าง ร้องเพลงไปแล้วโปรยข้าวตอก ดอกไม้ ไป เรื่อย ๆ จนกว่านางด้ง/นางฟ้ามาประทับร่าง ทุกคนที่ยืนล้อมวงจะตบมือพร้อมกันเพื่อเป็นการให้จังหวะ เวลาที่นางด้งลงมาจะโยกกระด้งไปมาแล้วจะลุกยืนเอากระด้งไล่ตีหรือฟาดคนร้องเพลงที่อยู่ข้าง ๆ
๕. เมื่อนางด้งหรือนางฟ้าลงมาประทับร่างทรง พี่เลี้ยงจะคอยซักถามปัญหา และพูดคุยด้วย ถ้าเป็นเวลาที่นางด้งไม่จำศีล นางด้งหรือนางฟ้าจะสนุกสนานกับชาวบ้านโดยการร้องเพลง รำวง อย่างสนุกสนาน หรือถ้าชาวบ้านทำถูกใจจะอยู่นาน ไม่ถูกใจจะกลับเลยการจะกลับของนางด้ง หรือ นางฟ้า พี่เลี้ยงจะเอาขัน ๕ ให้นางด้ง หรือนางฟ้าถือยกขึ้นจรดหน้าผากหรือหัวนางด้ง/นางฟ้าก็จะกลับไป
ขั้นตอนการแสดง
๑.จัดหาสถานที่ที่เหมาะสมเน้นกลางแจ้ง
๒.จัดหาเครื่องไหว้หรือบูชาครู
๓.ผู้แสดงนางด้งหรือผู้ร่วมพิธีกรรมจะเป็นผู้ร้องเพลงหรือลูกคู่ยืนล้อมวง
๔.ผู้หญิงเป็นผู้ถือกระด้ง ๒ คน ปิดตานั่งลงตรงกลางวง
๕. จัดหา กระด้ง ๑ ใบ
๖. จัดหาสาก ทำด้วยไม้แดง ๒ อัน
๗. เอากระด้งวางบนสาก
๘. จานขันห้า ข้าว ตอก ดอกไม้ วางอยู่ข้างตัว ผู้ถือกระด้ง
๙. ต้นเสียงจะร้องเพลงเชิญนางด้ง หรือนางฟ้าลงมาประทับร่าง
๑๐. ร้องเพลงไปแล้วโปรยข้าวตอก ดอกไม้ ไป เรื่อย ๆ จนกว่านางด้ง/นางฟ้ามาประทับร่าง
๑๑. ทุกคนที่ยืนล้อมวงจะร้องเป็นลูกคู่และตบมือพร้อมกันเพื่อเป็นการให้จังหวะ
๑๒. นางด้งลงมาประทับร่างทรงจะโยกกระด้งไปมาแล้วจะลุกยืนเอากระด้งไล่ตีหรือฟาดคนร้องเพลงที่อยู่ข้าง ๆ
๑๓. พี่เลี้ยงคอยซักถามปัญหา และพูดคุยด้วย ถามปัญหา ฝนเพื่อจะได้วางแผนการทำนา
๑๔. ถ้าเป็นเวลาที่นางด้งไม่จำศีล นางด้งหรือนางฟ้าจะสนุกสนานกับชาวบ้านโดยการร้องเพลงรำวง อย่างสนุกสนาน หรือถ้าชาวบ้านทำถูกใจจะอยู่นาน
๑๕. การกลับของนางด้ง หรือ นางฟ้า พี่เลี้ยงจะเอาขัน ๕ ให้นางด้ง หรือนางฟ้าถือยกขึ้นจรดหน้าผาก หรือหัว นางด้ง/นางฟ้าก็จะกลับไป
ผู้ถือกระด้ง หญิงนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อคอกลม สีเหลือง แขนกระบอก สไบพาดบ่า
หรือผ้าขาวม้า
ผู้ที่เป็นนางด้งหรือนางฟ้า ใส่เสื้อคอกลม แขนกระบอกสีขาว นุ่งผ้าซิ่น ผ้าผูกตา
นางด้งเอย นางด้งสีดา เก็บผักเก็บปลา มาลงเล่นน้ำ บุตตะเล ผัดไป เหล้า ๒ ไห ไก่เตี้ย ๒ ตัว
กระเทียม ๒ หัว อีปู่ด้งเอย อีย่าด้งเอย เข้าป่าสาระหงษ์ กระด้งไม้บาก สากน้อย ไม้แดง กระด้งแข็ง ๆ ตักแกงร่อนข้าว กระด้งฝัดข้าว อ่อนไปกระแยะ อ่อนมากระแยะ จมฟุ ๆ ฟาย ๆ ขนดินทรายมาใส่นางด้ง นางด้งให้อยากกินยากำเด็กน้อย เล่นน้ำ บุตตะเล ฟัดไป เหล้า ๒ ไห ไก่เตี้ย ๆ ตัว กระเทียม ๒ หัว ปู่ด้งเอย ย่าด้งเอย เข้าป่าสาระหงษ์ กระด้ง ไม้บาก สากน้อยไม้แดง กระด้งแข็ง ๆ ตักแกงร่อนข้าว กระด้งฝัดข้าวอ่อนไปกระแยะ อ่อนมากระแยะ อมฝุ ๆ ฟาย ๆ ขนดินทรายมาใส่นางด้ง นางด้งไฮ้อยากกินยากำ เด็กน้อย เล่นน้ำ บุตตะเล
ฝัดไป เหล้า ๒ ไห ไก่เตี้ย ๆ ๒ ตัว กระเทียม ๒ หัว อีปู่โงเอยอีย่าด้งเอ๋ย
๒. เจ้าโล่งโข่ง
เจ้าโล่งโข่ง เจ้าแม่กงเกวียน เวียนมานี้ อีก ๒-๓ รอบ คอบมานี้จัก ๒-๓ ที่ จักอยู่อีแมงมีจูลา
พาสาวหลงเข้าดงกำแมบมาสู่แดด หรือมาสู่ฝนมากำหุ้นกะกับ แม่นางด้ง โล่งโข่งเขียดเหลืองเนื่อง ๆ เขียดอ่อนอ่องลองมานั่นแม่นเขียดไก่นาหลังซา ๆ นั่นแม่นเขียดคันคาด เชิญนั่งครกไม่บาก เชิญทั้งสากไม้แดง เชิญทั้งตะแดงเข้ามากระด้งฝัดข้าว สาวนากินหวาน กระด้งฝัดข้าว สาวนาพินอ่อน อ่อนอย่าสิอ่อน ไสหลายฟายอย่าสู่ฟายใส่น้อย ฝนหมู่หลวงสีห่ำหน้าสาวเซียงสาวไทยเวียงสิเล่นแม่นางด้ง
๒. สากไม้แดง จำนวน ๒ อัน
๓. ผ้าปิดตา จำนวน ๒ ผืน
๔. เครื่องไหว้ครู ประกอบด้วย กรวยดอกไม้ ธูป เทียน ขัน ๕ ค่ากำนน ๖ สลึง
๕. เครื่องแต่งกายของนางด้ง / นางฟ้า ประกอบด้วย เสื้อขาวแขนกระบอก ผ้าชิ้น หวี แป้ง น้ำหอม
๖. ผู้ถือกระด้ง ๒ คน
๗. พี่เลี้ยง ๑ คน และ ลูกคู่ จำนวน ๑๕ คน
๒.เป็นการได้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าในการทำนาในปีนั้น
จัดทำเอกสารเผยแพร่และสาธิตการแสดงนางด้งในงานประเพณีท้องถิ่น
บ้านเลขที่ ๑๒ หมู่ที่ ๑ ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
ทองคำ ผลาหาญ, นางสาว. เกิดวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ บ้านเลขที่ ๑๗๖
หมู่ ๒ ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ทองคำ องอาจ, นาง. เกิดวันที่ - เดือน - พ.ศ. ๒๕๐๑ บ้านเลขที่ ๘๙ หมู่ ๑
ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
บุญเลียง เอมสำราญ, นางสาว. เกิดวันที่๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๒บ้านเลขที่ ๓๔
หมู่ ๑ ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
ประมวล ถาวงษ์, นาง. เกิดวันที่ - เดือน- พ.ศ. ๒๔๙๑ บ้านเลขที่ ๘๗ หมู่ ๑
ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
ประมัย สถิตไชยนนท์, นาง. เกิดวันที่ - เดือน - พ.ศ.๒๕๐๔ บ้านเลขที่ ๘๖ หมู่ ๑
ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
รัตน์ พิมพ์ประสิทธิ์, นาง. เกิดวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ บ้านเลขที่ ๘๖ หมู่ ๑
ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
วัฒนะ เสาะด้น, นาง. เกิดวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ บ้านเลขที่ ๔๕ หมู่ ๑ ตำบล
คำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
วิไล ช่างต่อ, นาง. เกิดวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ บ้านเลขที่ ๑๐ หมู่ ๑ ตำบล
ตำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
สงัด กันเหตุ, นาง. เกิดวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ บ้านเลขที่ ๙ หมู่ ๑
ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
สุธีร์ ชัยชนะ, นาง. เกิดวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๔ บ้านเลขที่ ๑๑๙ หมู่ที่ ๑
ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐
เห่ง นักปัด, นาง. เกิดวันที่ - เดือน- พ.ศ. ๒๔๘๓ บ้านเลขที่ ๒๗ หมู่ ๑ ตำบล
คำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๓๐